วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ไม่ยาก ถ้าอยากให้ลูกน้องเกลียด
ท่านใดที่ดำรง ตำแหน่งเป็นหัวหน้างาน ไม่ว่าจะมีชื่อตำแหน่งว่าอะไร ใหญ่โตเพียงใดก็ตาม ถ้าท่านมีลูกน้องต้องดูแลก็ถือว่าเป็นหัวหน้างงานแล้วล่ะครับ เคยถามตัวเองมั้ยครับว่า ทำไมการเป็นหัวหน้างานที่ดีนั้นทำไมมันช่างยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกิน ทั้งๆ ที่เราเองก็พยายามปรับปรุงตัวเอง เพื่อให้เป็นหัวหน้างานที่ดีในสายตาของลูกน้อง
วันนี้ผมมีตัวอย่างของคนที่ทนเป็นหัวหน้างานที่ดีไม่ไหว ก็เลยยอมเปลี่ยนตัวเองกลายเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องไม่อยากเข้าใกล้อีกต่อไป มาลองอ่านกันนะครับ ว่ามีแบบไหนบ้าง
1.หัวหน้าประเภท เอาดีเข้าตัว เอาชั่วเข้าลูกน้อง หัว หน้าประเภทนี้ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าเขารู้ตัวหรือเปล่าว่าเป็นแบบนี้ คือ เวลาที่มีผลงานที่ออกมาดี นายชมลงมา คำชมนั้นก็จะตกอยู่กับหัวหน้าทันที พร้อมยังสำทับอีกว่า นี่คือผลงานของเขาเองที่เหนื่อยมาแทบตาย แต่พองานไหนที่นายตำหนิมา ก็ต้องมีข้ออ้างเสมอว่า เขาไม่ได้เป็นคนทำ ลูกน้องต่างหากที่ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น
2.หัวหน้าประเภทไม่เคยเอ่ยปากชมลูกน้อง หัว หน้าประเภทปากหนัก เวลาลูกน้องทำผลงานได้ดี ก็ไม่เคยเลยที่จะมีคำชื่นชมในผลงานออกมาจากปากเขาเลย แถมยังส่งแววตาอิจฉาที่ลูกน้องทำงานได้ดี แต่พอเมื่อไหร่ที่เกิดความผิดพลาดขึ้นในผลงานของลูกน้อง ท่านก็โซโลจนไม่เหลือชิ้นดีเลย ด่าจนหนำใจแล้วก็ปล่อยให้ลูกน้องแก้ปัญหาด้วยตัวเองต่อไป ไม่มีความช่วยเหลือใดๆ ออกมาเลย
3.หัวหน้าแบบเล่นพรรคเล่นพวก หัว หน้าแบบนี้จะมีลูกน้องแสนรักอยู่คนสองคน ที่ทุกเช้าหัวหน้าท่านนี้จะซื้ออาหารเช้ามาให้ลูกน้องแสนรักทาน คอยดูแลทุกข์สุขอยู่ตลอดเวลา ถึงเวลากินข้าวกลางวันก็จะถามว่ากินอะไรดี หรือ ไปกินกันที่ไหนดี ส่วนลูกน้องอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ พวกหมาหัวเน่า ที่ไม่เคยชายตามองเลยว่า จะทุกข์หรือจะสุขอย่างไร เวลาทำอะไรขวางหูขวางตาหน่อยเดียว ก็โดนด่าเปิง ส่วนลูกน้องแสนรักจะทำผิดอย่างไร ก็ไม่เคยดุด่าว่ากล่าว แถมยังหาข้อแก้ตัวให้เสร็จสรรพ
4.หัวหน้าประเภทเงียบเป็นเป่าสาก หัว หน้าแบบนี้เป็นหัวหน้าที่ไม่ค่อยพูดจาอะไรกะใคร โดยเฉพาะกับลูกน้องตนเอง วันๆ ก็แทบจะไม่ต้องคุยอะไรกันเลย เหมือนประเภทมองตาก็เข้าใจกัน (แต่จริงๆ ทำงานกันไปคนละเรื่องเลย) เช้ามาก็ไม่เคยเลยที่จะมีคำทักทายออกจากปากหัวหน้าก่อนเลย เห็นทีไรก็นั่งนิ่งทำงานอยู่ที่โต๊ะทำงานของตัวเอง จนลูกน้องเองก็ไม่กล้าที่จะเข้าหา เพราะกลัว บรรยากาศมันช่างจะมาคุจริงๆ เวลาทำงานอะไรก็ชอบทำงานคนเดียว ไม่ค่อยอยากจะสอบถามความเห็นอะไรจากใครเลย ก็ยิ่งทำให้ลูกน้องไม่กล้าเข้าหามากขึ้นไปอีก (แล้วงานมันจะเสร็จหรอเนี่ยะ)
5.หัวหน้าแบบเจ้ายศเจ้าอย่าง หัว หน้าแบบนี้เวลาลูกน้องจะเข้าหาจะต้องคลานเข่าเข้าหา เวลาจะให้เซ็นงานก็ต้องใส่แฟ้มอย่างดี แถมเรียกชื่อเฉยๆ ก็ไม่ได้ จะนับญาติด้วย (เรียกพี่) ก็ไม่ได้ จะต้องใช้คำว่า “ท่าน” อย่างเดียวเลย เวลาจะเข้าไปคุยงาน ก็ยืนค้ำหัวไม่ได้ จะต้องถูกเตือน มือไม้ก็ต้องเรียบร้อยกุมไว้ข้างหน้าเสมอ อย่าให้เห็นว่ากำลังล้วงแคะแกะเกาใดๆ นะ ท่านจะอบรมเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว
6.หัวหน้าแบบไร้ความมั่นใจในตนเอง หัว หน้าแบบนี้เวลาลูกน้องถามอะไร ก็จะตอบว่า “ไม่แน่ใจ” ลูกน้องขอคำปรึกษาก็มักจะตอบแบบอึกอัก เหมือนกับคนที่ไม่มีความมั่นใจเลย ลูกน้องเสนออะไรก็ดีไปหมด ไม่กล้าที่จะท้วงติงใดๆ แถมบางคนยังกลัวลูกน้อง ไม่กล้าหือลูกน้องเลยสักนิด (แล้วตกลงว่าใครเป็นหัวหน้าใครเป็นลูกน้อง)
7.หัวหน้าที่มีความเชื่อมั่นใจตนเองมากไป หัว หน้าแบบนี้ไม่ต้องการความคิดเห็นใดๆ จากลูกน้องเลย ลูกน้องมีหน้าที่ทำตามคำสั่งอย่างเดียวเท่านั้น ห้ามทำอะไรนอกเหนือจากที่สั่งไว้เด็ดขาด บางคนยังมีคำพูดที่ดีด้วยนะ “ถ้าใครมีความเห็นอะไรก็บอกมาได้เลยนะ” พอพนักงานออกความเห็นไปแล้ว หัวหน้าก็บอกว่า “ขอบคุณสำหรับความเห็นนะครับ แต่สิ่งผมตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ขอให้ทุกคนทำตามที่ผมบอกไว้” ไม่นานหรอกครับ ลูกน้องก็จะเริ่มเงียบและไม่มีความเห็นอะไรออกมาจากปากของลูกน้องอีก แล้วหัวหน้าก็จะมาบ่นอีกว่า “ลูกน้องเราแต่ละคนนี่ไม่รู้จักคิดและแสดงความเห็นเลยนะ แย่จริง” (ใครจะไปอยากแสดงความเห็นกับหัวหน้าแบบนี้ล่ะครับ)
จาก 7 ลักษณะที่ผมกล่าวมานี้ ถ้าหัวหน้าของใครไม่เข้าข่ายหนึ่งในเจ็ดข้อนี้เลย ผมก็ยอมรับเลยว่า ท่านเป็นคนที่โชคดีมากนะครับ ที่มีหัวหน้างานที่ดีๆ และเป็นตัวอย่างให้ท่านเป็นหัวหน้างานที่ดีต่อไปในอนาคตได้ด้วย
จาก คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด

1 ความคิดเห็น:

Dr.Roj กล่าวว่า...

ดีครับ

เเต่ไม่รู้ว่า สำหรับผม เขาจัดให้อยู่ประเภทไหน???

ว่างๆ ลองเข้าไปดูในบล็อกของผมบ้างก็ได้นะครับ
ที่บล็อก "บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน"
http://drpairoj-saonuam.blogspot.com/

หมอโรจน์