ถ้าใครเคยอ่าน ตำราพิชัยสงคราม กลยุทธ์ต่างๆในการทำสงคราม ผมคิดว่าน้อยคนที่จะไม่มีใครที่จะไมรู้จัก ปรมาจารย์ในการวางแผนยุทธศาสตร์การรบที่ดีที่สุดคนหนึ่งของโลกคือ "ซุนวู"
ซุนวู ตามที่ประวัติเท่าที่ค้นพบ เป็นคนแคว้นฉีในยุคซุนชิว(พอดีผมเกิดมาไม่ทัน ไม่งั้นคงเป็นศิษย์เอกท่านแน่นอน.55.. ฝันอีกแล้ว)
ซุนวูได้เป็นแม่ทัพ ก็ได้สร้างความดีความชอบในการทำสงครามเป็นอันมาก เขาจึงได้เขียน "ตำราพิชัยสงคราม 13 บท"(ปัจจุบันคงคล้ายๆกับการถอดบทเรียนครับ=AAR) ให้ไว้เพื่อให้แม่ทัพรุ่นหลังได้ใช้เป็นแนวทางต่อ ซุนวูผ่านชีวิตสงครามมา 30 ปี สุดท้ายเขาเอือมระอาต่อวงราชการ จึงหลบหนีไปแสวงหาความวิเวกในป่าลึก จวบจนลมหายใจเฮือกสุดท้ายของชีวิต
แม้ซุนวูจะตายแล้ว "ตำราพิชัยสงครามซุนวู" ยังเป็นที่สนใจแพร่หลายในประเทศจีน ยอดการทหารของจีน เช่น ซุนปิง หานซิ่น โจโฉ ขงเบ้ง เหมาเจ๋อตุง ล้วนแต่ยึดตำราพิชัยสงครามซุนวูเป็นหลัก
ในต่างประเทศ ประเทศแรกที่นำตำรานี้ออกไป คือ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนการแพร่หลายในประเทศทางตะวันตกนั้น นโปเลียน โบนาปาร์ต(ฝรั่งเศส) ก็เคยอ่าน ตำราพิชัยสงครามของซุนวู
พระเจ้าไกเซอร์ แห่งเยอรมันนี หลังจากพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วภายหลังได้อ่าน ตำราพิชัยสงครามของซุนวู อ่านเสร็จก็อุทานว่า "หากเราได้อ่านตำราพิชัยสงครามของซุนวูมาก่อนหน้านี้ เราคงไม่ต้องสูญชาติ"นอกจากนั้น ในรัสเซีย เยอรมัน เชคโกสโลวาเกีย สหรัฐอเมริกา ก็มีฉบับแปลของตำราพิชัยสงครามซุนวูอยู่ทั้งนั้น
ผมได้มีโอกาสได้อ่านจนครบ 13 บทมาแล้วครั้งหนึ่ง ถ้ามีโอกาสก็จะอ่านอีกสักรอบครับ แต่สามารถจับ Concept ที่สามารถสะท้อนความเป็นวิชาการของปรัชญาเมธีที่ยิ่งใหญ่ท่านนี้ได้คือ สัจพจน์อมตะของซุนวู ที่ว่า"รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิพ่าย ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกรบจักพ่าย"
ในความคิดส่วนตัว ผมคิดว่าถ้าเราวิเคราะห์สัจพจน์ของซุนวูท่อนนี้ สามารถนำมาเทียบเคียงประยุกต์ใช้ในงานวิชาการของเรา ก็คงใกล้เคียง ทฤษฎี SWOT Analysis เพราะSWOT Analysis เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ
"SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่
S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายในองค์กร เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กรเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
จะเห็นได้ว่าสัจพจน์แก่นสำคัญในตำราพิชัยสงครามของซุนวู ที่กล่าวว่า "รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิพ่าย ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกรบจักพ่าย"กับ SWOT Analysis มีความเหมือนของการนำไปใช้ประโยชน์ บนความแตกต่างของกาลเวลาเท่านั้นเอง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น