หลักการป้องกันและควบคุมโรค
Principles of Prevention and Control of Diseases
อาจารย์สุภาภรณ์ เตโชวาณิชย์
การป้องกันและควบคุมโรคต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค (Natural history of disease) ซึ่งมี 3 องค์ประกอบหลักซึ่งมีอิทธิพลเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคและการกระจายของโรคในชุมชนประกอบด้วย (1)
1. มนุษย์ (Host)
2. สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent)
3. สิ่งแวดล้อม (Environment)
Dr. John Gordon เป็นผู้ค้นคิดเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สิ่งที่ทำให้เกิดโรคและสิ่งแวดล้อมเหมือนการเล่นไม้กระดก โดยมีมนุษย์และสิ่งที่ทำให้เกิดโรคเป็นน้ำหนักถ่วงอยู่ทั้งสองข้างของไม่กระดก และสิ่งแวดล้อมเป็นฟัลครัมอยู่ตรงกลาง ความสัมพันธ์ที่พบแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1. มีความสมดุลย์ระหว่างองค์ประกอบทั้งสามจะไม่มีโรคเกิดขึ้น
2. มีภาวะไม่สมดุลระหว่างองค์ประกอบทั้งสาม จะมีโรคเกิดขึ้น โดยภาวะที่ไม่สมดุลย์นี้อาจเกิดขึ้นจาก
2.1 สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent) มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เชื้อโรคมีเพิ่มมากขึ้นหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรคมีความสามารถในการแพร่กระจายโรค หรืออาจเกิดการปรับตัวเองเป็นพันธุ์ใหม่ จะทำให้เกิดโรคมากขึ้นได้
2.2 มนุษย์ (Host) มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ร่างกายอ่อนแอ หรือมีความไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น เช่น เด็กและคนชรา มีโอกาสเกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น
2.3 สิ่งแวดล้อม (Environmental) มีการเปลี่ยนแปลง เช่นในฤดูฝนจะมียุงลายเพิ่มขึ้น ทำให้อุบัติการของไข้เลือดออกสูงขึ้น หรือในคนที่มีฐานะยากจน (Low Socio-economic) ทำให้รับประทานอาหารไม่พอเพียง ทำให้พบโรคขาดอาหารได้บ่อย ในทางตรงข้าม ถ้าเศรษฐานะดี หรือรับประทานอาหารมากเกินไปจะทำให้มีน้ำหนักเพิ่มก็อาจทำให้พบโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในร่างกายก็สูงขึ้นได้เช่นกัน
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งสามนี้ สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบการเกิดโรค ทั้งโรคติดเชื้อ และโรคไร้เชื้อ เช่นการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งปัจจุบันเป็นสาเหตุการตายที่สูงที่สุด นอกจากนี้จะพบว่ามนุษย์มีส่วนส่งเสริมให้เกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าหากสภาวะของร่างกายไม่สมบูรณ์ เช่น ตาบอดสี หรือเมาสุรา นอกจากนี้ สภาวะอารมณ์ก็จะมีผล เช่น วัยรุ่นใจร้อน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย ส่วนสิ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูง สภาพของรถยนต์ไม่เรียบร้อย ส่วนสิ่งแวดล้อมได้แก่ ฝนตก ถนนลื่น หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ ก็จะส่งเสริมให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น
ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างร่างกายมนุษย์กับตัวเชื้อโรค ( Agent – Host Interaction ) (2)
เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสกับตัวเชื้อโรค จะมีผลเกิดขึ้นโดยตรงที่อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประการ คือ
1. เนื่องจากมีจำนวนเชื้อโรคไม่มากพอ และหนทางเข้าสู่ตัวมนุษย์ไม่เหมาะสม หรือมนุษย์มีภูมิคุ้มกันโรคโดยเฉพาะ ฉะนั้นตัวเชื้อโรคจะไม่สามารถที่จะไปเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนภายในร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้
2. เมื่อมีการติดเชื้อขึ้น อาจจะเป็นการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการทางเวชกรรมก็ได้ ( Subclinical )
3. เมื่อมีการติดเชื้อและเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคขึ้น แต่จำนวนรายป่วยด้วยโรคที่จะเกิดขึ้นนั้นอาจจะผันผวนไปตามพยาธิสภาพของตัวเชื้อโรค เช่น ในกรณีตัวเชื้อโรคเป็นเชื้อประเภท Poliovirus ส่วนมากรายป่วยด้วยโรคที่เกิดจากเชื้อนี้มักจะเกิดขึ้นในรูปแบบของการติดเชื้อ แต่ไม่ปรากฎอาการของโรคไขสันหลังอักเสบอย่างเด่นชัด ( Inapparent infection) ส่วนการติดเชื้อด้วยเชื้อ Measles virus รายป่วยด้วยโรคไข้หัดจะเกิดอาการและอาการแสดงของโรคไข้หัดอย่างเด่นชัด ยิ่งไปกว่านั้นรายป่วยด้วยโรคที่แสดงอาการออกมาอย่างเด่นชัด ยังมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไปอีก ตั้งแต่แสดงอาการน้อยๆจนถึงแสดงอาการอย่างรุนแรง และผลสุดท้ายของการป่วยด้วยโรคก็ยังผันผวนออกไปอีก กล่าวคือหายจากการเป็นโรคกลับฟื้นคืนเป็นปกติ หรือหายจากการเป็นโรคแต่มีความพิการเกิดขึ้น หรือไม่หายจากการเป็นโรคและถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่รายป่วยหายจากการป่วยด้วยโรคต่างๆแล้ว ผลของการป่วยด้วยโรคยังมีปัญหาที่สำคัญเกิดขึ้นตามมาภายหลังอีก 3 ประการ คือ
1.รายที่ป่วยด้วยโรคแล้วจะหายกลับคืนเข้าสู่สภาพปกติ หรือเกิดความพิการขึ้น เช่น ภายหลังป่วยด้วยโรคไขสันหลังอักเสบ อาจจะเกิดอาการอัมพาตตามมาภายหลัง เป็นต้น
2. ตัวเชื้อยังคงอาศัยอยู่ภายในร่างกายของรายป่วย ไม่ว่าจะปรากฎอยู่อย่างซ่อนเร้นหรืออย่างเด่นชัดก็ตาม ส่วนมากเมื่อมนุษย์มีการติดเชื้อแล้ว สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือบุคคลนั้นจะต้องมีเชื้อโรคอาศัยอยู่ ซึ่งอาจจะอาศัยอยู่ภายในช่วงเวลาสั้นๆหรือช่วงเวลานานๆ ดังนั้นคำว่า “พาหะของโรค” ( carrier ) จึงนำมาใช้เรียกบุคคลที่มีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการของโรคออกมาให้เห็น และบุคคลที่เป็นพาหะของโรคบางชนิด อาจมีตัวเชื้อโรคอยู่ภายในร่างกายตลอดชีวิตก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะมีเชื้อโรคอาศัยภายในร่างกาย 2-3 สัปดาห์หรือหลายๆเดือน เช่น พาหะของเชื้อ Poliovirus ,Diphtheria และMeningococci เป็นต้น มีการติดเชื้อบางชนิดเป็นการติดเชื้อแบบซ่อนเร้นอยู่ภายในร่างกาย หมายความว่ามีตัวเชื้อโรคอาศัยอยู่ภายในร่างกายอย่างเงียบๆ และการติดเชื้อแบบนี้นานๆอาจจะลุกลาม และแสดงอาการป่วยด้วยโรคนั้นๆขึ้นมาก็ได้ บุคคลที่ติดเชื้อประเภทนี้จะกลายเป็นแหล่งเก็บเชื้อที่สำคัญ เช่น เชื้อไวรัสของโรค Herpes simplex และเชื้อไวรัสของโรคไข้สุกใส เป็นต้น
3. ปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญ กล่าวคือร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นภายหลังจากมีการติดเชื้อนั้นๆแล้ว แต่ถ้าภูมิคุ้มกันของโรคที่เกิดขึ้นไม่สมบูรณ์พอจะทำให้เกิดโรคนั้นซ้ำขึ้นได้อีก และบุคคลนั้นจะมีการติดเชื้อของโรคเดิมซ้ำขึ้นได้อีก ซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่ก็ได้ และบุคคลนั้นก็จะกลายเป็นแหล่งเก็บเชื้อ ซึ่งพร้อมที่จะแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นได้
การป้องกันของร่างกายมนุษย์ (Host Defenses)
ร่างกายมนุษย์เปรียบได้เหมือนกับเป็นป้อมปราการที่แข็งแรง ซึ่งมีตัวเชื้อโรคหลายร้อยหลายพันชนิดเป็นศัตรูที่ล้อมรอบ เพื่อที่จะหาทางเข้าโจมตี หรือหาช่องทางเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของเชื้อโรค และกลไกของร่างกายทั้งด้านกายวิภาค และสรีรวิทยาที่จะป้องกันไม่ให้ป่วยด้วยโรคต่างๆ
1. ด้านกายวิภาค ผิวหนังที่ห่อหุ้มร่างกายมนุษย์และเยื่อมูก (Mucous membrane) ที่บุทางเดินและท่อต่างๆของร่างกาย จะป้องกันมิให้ตัวเชื้อโรคต่างๆและสารมีพิษที่อยู่ภายนอกร่างกายบุกรุกเข้าสู่ภายในร่างกาย ผม ต่อมเหงื่อ และไขมันใต้ผิวหนัง จะมาทำหน้าที่ป้องกันแรงที่จะมากระทบกระแทก และช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ นอกจากนี้ต่อมเหงื่อยังจะหลั่งน้ำเหงื่ออกมาบนผิวหนังซึ่งมีฤทธิ์ทำลายตัวเชื้อโรคได้
2. ด้านสรีรวิทยา ความรู้สึกต่างๆของมนุษย์ จะทำหน้าที่ให้มนุษย์สามารถหลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆได้ เช่น การได้กลิ่นเหม็นจะกลั้นหายใจได้ทันที การไอ จาม จะทำหน้าที่ขับสิ่งแปลกปลอมให้หลุดออกไปจากระบบทางเดินหายใจ
3. การต่อสู้กับตัวเชื้อโรค ร่างกายมนุษย์จะมีกลไกการป้องกันอยู่หลายประการ ที่จะต่อสู้กับการบุกรุกของตัวเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ภายในร่างกาย การอักเสบจะเป็นกลไกแรกที่จะต่อสู้กับตัวเชื้อโรค โดยอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่เชื้อโรคเข้าไปอาศัยอยู่ จะแสดงการสนองตอบ การอักเสบจะเป็นการแสดงสนองตอบของร่างกายที่จะพยายามห้อมล้อมตัวเชื้อโรคไว้ มิให้แพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และจัดการทำลายตัวเชื้อโรคนั้น
ระดับการป้องกันโรค ( Levels of prevention ) (3)
การป้องกันโรคแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ได้ 3 ระดับ ตามระยะต่างๆของโรคดังนี้ คือ
1. การป้องกันขั้นที่หนึ่ง ( Primary prevention )
การป้องกันขั้นนี้เป็นการป้องกันในระยะที่ยังไม่มีโรคเกิดขึ้น โดยการกำจัดหรือลดสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ทั้งนี้เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการหรืออาการแสดงของโรคเกิดขึ้น โรคที่เกิดขึ้นอาจแยกออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค คือ
- กลุ่มโรคที่เกิดจากสาเหตุอย่างเดียว ( Single factor) ได้แก่โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคคอตีบ โรคไอกรน วัณโรค เป็นต้น
- กลุ่มโรคที่เกิดจากสาเหตุหลายอย่าง ( Multiple factors ) ได้แก่โรคไร้เชื้อต่างๆ เช่น โรคหัวใจโคโรนารี โรคมะเร็งต่างๆ เป็นต้น
โรคติดเชื้อมักมีวิธีการป้องกันและควบคุมที่ได้ผลดีกว่าโรคไร้เชื้อ ความสำเร็จของงานสาธารณสุขในอดีตในประเทศที่พัฒนาทั้งหลายก็เป็นผลเนื่องมาจากการป้องกันขั้นแรกนี่เองโดยการปรับปรุงและแก้ไข เช่น งานอนามัยสิ่งแวดล้อม การให้ภูมิคุ้มกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น
ปัญหาที่เผชิญหน้าประเทศที่พัฒนาทั้งหลายขณะนี้ ก็คือโรคไร้เชื้อ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอุบัติเหตุต่างๆ ส่วนปัญหาที่เผชิญหน้าประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ได้แก่ โรคติดเชื้อ เป็นส่วนใหญ่
การป้องกันระยะแรกเพื่อไม่ให้โรคเกิดขึ้น จะต้องมุ่งไปที่ ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค ( Stage of susceptibility ) โดยถือหลักดังนี้ คือ
1. เปลี่ยนความไวต่อการเกิดโรค ( Susceptibility ) ของประชากร เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรค การปรับปรุงแก้ไขภาวะโภชนาการให้ดีขึ้น
2. ลดโอกาสผู้ที่มีความไวในการเกิดโรค (Susceptibility individual ) ที่จะไปสัมผัสโรค
3. กำจัดหรือลดสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรค
การป้องกันขั้นแรกนี้ ประกอบด้วยงานที่สำคัญดังนี้ คือ
Ø การส่งเสริมสุขภาพ ( Health promotion)
การส่งเสริมสุขภาพนับเป็นการป้องกันที่สำคัญมากอันหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ช่วยสนับสนุนงานป้องกันในระดับอื่นๆให้ดีขึ้น งานส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วยงานต่างๆ เช่น งานสุขศึกษา, งานโภชนาการ, งานสุขวิทยาส่วนบุคคล, งานอนามัยสิ่งแวดล้อม, งานสุขาภิบาล, งานวางแผนครอบครัว, งานอนามัยแม่และเด็ก และงานสุขวิทยาจิต
Ø การคุ้มกันเฉพาะ ( Specific protection)
การคุ้มกันเฉพาะเป็นการป้องกันสาเหตุของโรคโดยตรงในชุมชน อาจทำได้โดยการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค การกำจัดสาเหตุของโรคโดยตรง และการควบคุมพาหะนำโรค
2. การป้องกันขั้นที่สอง ( Secondary prevention)
การป้องกันในระยะนี้เป็นการป้องกันเมื่อโรคได้เกิดขึ้นแล้ว เพื่อที่จะลดความรุนแรงของโรค ป้องกันการแพร่กระจายของโรค หยุดยั้งการดำเนินการของโรค ช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยและลดระยะการติดต่อของโรค การป้องกันระดับนี้ส่วนใหญ่จะกระทำในระยะก่อนมีอาการ และขณะมีอาการของโรคเกิดขึ้น การป้องกันขั้นที่สองนี้ได้แก่การวินิจฉัยในระยะแรกเริ่มและให้การรักษาทันที ( Early diagnosis and prompt treatment) ซึ่งประกอบด้วย
Ø การค้นหาผู้ป่วยในระยะที่ยังไม่มีอาการ ( Early detection of asymptomatic cases) การค้นหาผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ ส่วนใหญ่ตรวจพบได้โดยการตรวจคัดกรองโรค ( Screening of diseases) เช่น
- การตรวจวัดความดันโลหิตในการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน
- การตรวจภาพรังสีปอดเพื่อดูวัณโรค และมะเร็งปอด
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อตรวจดูโรคเบาหวาน
Ø การวินิจฉัยผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วเมื่อพบว่ามีอาการ ( Early diagnosis of symptomatic cases )
การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการทดสอบต่างๆ ควรทำโดยเร็วและทำอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที ลดระยะเวลาของโรค ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ช่วยป้องกันและลดความพิการตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่เป็นโรคติดเชื้อก็ช่วยป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นด้วย
3. การป้องกันขั้นที่สาม ( Tertiary prevention )
การป้องกันขั้นนี้เป็นการป้องกันในระยะมีความพิการหรือป่วยมาก ( Stage of disability or advance disease) การป้องกันขั้นนี้เป็นการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรค ลดความพิการของโรค ตลอดจนผลเสียต่างๆ ที่จะตามมาภายหลังจากการเป็นโรค การป้องกันระยะนี้เป็นการป้องกันในขณะที่โรคเป็นมากแล้ว นับว่าเสี่ยงต่ออันตรายและได้ผลน้อยกว่าการป้องกันสองระดับแรก การป้องกันระยะที่สาม ประกอบด้วย
Ø การกำจัดความพิการ ( Disability limitation)
การกำจัดความพิการนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การที่จะสามารถกำจัดหรือลดความพิการได้
Ø การฟื้นฟูสุขภาพ ( Rehabilitation )
การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยเพื่อให้ได้มีโอกาสใช้ส่วนพิการนั้นให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้โดยไม่เป็นภาระแก่สังคมมากนัก ทำให้ผู้ป่วยพิการสามารถจะมีชีวิตอยู่อย่างคนทั่วไป หรือใกล้เคียงคนทั่วไปมากที่สุดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ผู้ป่วยที่พิการควรจะช่วยตนเองในการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ สามารถใช้เครื่องช่วยความพิการ เช่น แขนเทียม ได้ถูกต้อง และคล่องตัว ตามความพิการที่ตนมีอยู่
ประเภทของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาทางด้านฟื้นฟูสุขภาพ อาจแบ่งออกได้ 5 ประเภท คือ
1. ความผิดปกติทางประสาทและกล้ามเนื้อ ( Neuro-muscular disorders ) เช่น โรคโปลิโอ ,โรคเส้นเลือดสมองตีบตัน
2. ความผิดปกติทางกระดูกและกล้ามเนื้อ ( Musculo-skeletal disorders ) เช่น โรคข้อต่างๆ
3. พวกที่โดนตัดแขนและขา ( Amputees)
4. ความผิดปกติทางหัวใจและปอด ( Cardio-pulmonary disorders) เช่น โรคหัวใจโคโรนารี ,โรคปอดเรื้อรัง
5. อื่นๆ เช่น หัวไหล่ขัด ( Frozen shoulder )
งานทางด้านฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น
- กายภาพบำบัด ( Physical therapy ) การใช้เครื่องมือต่างๆในการช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยที่พิการ
- กิจกรรมบำบัด ( Occupational therapy ) การฝึกผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับความละเอียดอ่อน เช่น การใช้มือ การใช้แขนขาเทียม
- อาชีวะบำบัด ( Vocational therapy ) การฝึกผู้ป่วยเกี่ยวกับงานอาชีพที่เคยทำอยู่ หรือหางานใหม่ที่เหมาะสมให้
- อรรถบำบัด ( Speech therapy ) ตรวจสอบความพิการเกี่ยวกับการพูด และปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อ
- การฟื้นฟูสภาพทางจิต ผู้ป่วยที่มีความพิการทางกาย ย่อมมีปัญหาทางจิตมากกว่าบุคคลทั่วไป จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตใจ วิธีการช่วยฟื้นฟูสภาพทางจิต เช่น
v ส่งเสริมเอาใจช่วย เช่น พูดให้กำลังใจให้เกิดความสบายใจ หายวิตกทุกข์ร้อนกับความพิการของตัวเอง
v แนะนำและอธิบายให้เข้าใจสภาพความจริงต่างๆ
v ให้เรียนรู้ความจริงต่างๆด้วยตัวของตัวเอง
v เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง
- การฟื้นฟูสภาพทางสังคม ติดตามผู้ป่วยที่พิการ ผู้ป่วยโรคจิตโรคประสาท หรือโรคที่สังคมรังเกียจ ฝึกอาชีพที่เหมาะสม และหาทางให้สังคมยอมรับผู้ป่วยกลับคืนสู่ชุมชน
แนวทางในการป้องกันโรค
แนวทางในการป้องกันโรค ควรจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆของการป้องกันโรค โดยเฉพาะในการป้องกันขั้นที่หนึ่ง ( Primary prevention) ควรรีบดำเนินการป้องกันก่อนที่จะมีพยาธิสภาพเกิดขึ้น หรือก่อนที่พยาธิสภาพนั้นจะเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่ปกติไม่ได้ แนวทางในการป้องกันโรค ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. หาจุดที่จะดำเนินการเพื่อตัดสายใยของการติดต่อ ( Chain of transmission )
2. ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะและอนามัย
3. ทำการป้องกันขั้นแรกขณะที่โรคยังไม่เกิดขึ้นดีกว่าทำการป้องกันขั้นที่สอง ซึ่งโรคเกิดขึ้นแล้ว
4. ดำเนินการกำจัดหรือลดปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคและปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรค
5. หยุดยั้งการดำเนินการของโรคโดยให้การรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
ในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคต่างๆ ทั้งโรคติดเชื้อ (Infectious diseases) และโรคไร้เชื้อ (Non- Infectious diseases) อาศัยพื้นฐานเกี่ยวกับสาเหตุของโรค และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งสาม คือ Host, Agent และEnvironment เป็นหลักในการวางมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคได้ดังนี้ (1)
1. การเฝ้าระวังโรค (Disease surveillance)
2. สุขศึกษา (Health Education)
3. การป้องกันการกระจายของโรค (Preventing spread)
4. การให้ภูมิคุ้มกันแก่มนุษย์ (Increasing the resistance of the new host)
5. การรักษาให้ทันท่วงที เพื่อลดผลการเจ็บปวดให้น้อยลง (Minimizing the ill effect of cases that have not been prevented)
การเฝ้าระวังโรค (Disease surveillance)
การเฝ้าระวังโรค หมายถึง การเฝ้าสังเกต และพิจารณาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการเกิดและการแพร่กระจายของโรคในทุกๆด้านที่มีส่วนสำคัญต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนสำคัญของการการเฝ้าระวังโรค ประกอบด้วย
1. การรวบรวมข้อมูลทางด้านระบาดวิทยา
2. การประเมินผลข้อมูล
3. การรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรค
ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ได้จากการเฝ้าระวังโรคจะต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ก็มีประโยชน์ในแง่ของการเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของโรคในชุมชน ซึ่งสามารถนำไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคให้ได้ผลดี โดยข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการค้นพบภาวะการระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว โดยมีหลักเกณฑ์ว่า ถ้าอัตราป่วยของโรคเพิ่มขึ้นมากกว่า Mean + 2 standard deviation ของโรคนั้นถือว่ามีการระบาดของโรคนั้น และจะได้รับการดำเนินการวางแผนในการป้องกันและควบคุมโรคได้ทันท่วงที
สุขศึกษา (Health Education)
สุขศึกษา หมายถึง ขบวนการและวิธีการทั้งหมดที่จะทำให้ประชาชนได้รู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ สร้างทัศนคติในทางรับผิดชอบพร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ดังนั้นการให้สุขศึกษาแก่ประชาชนหรือชุมชน จะเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคต่างๆประสบผลสำเร็จอย่างถาวร
การป้องกันการกระจายของโรค (Preventing Spread)
การควบคุมโรคที่เกิดจากการติดเชื้อนั้น สามารถทำได้โดยการกวาดล้างแหล่งเก็บเชื้อโรคต่างๆเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคนั้นถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นๆได้ ซึ่งการป้องกันการกระจายของโรคมีหลายวิธี คือ
1. การกำจัดแหล่งเก็บเชื้อโรค (Reservoir eradication) ถ้าสัตว์เป็นแหล่งเก็บเชื้อโรค วิธีการกำจัดที่ดีที่สุดก็คือฆ่าสัตว์นั้นเสีย แต่ถ้ามนุษย์เป็นแหล่งเก็บเชื้อโรค การกำจัดเชื้อโรคอาจดำเนินการโดยให้ยาปฏิชีวนะต่างๆเข้าไปฆ่าเชื้อโรคนั้นๆ หรือในบางครั้งอาจจะต้องดำเนินการผ่าตัดเพื่อนำแหล่งเก็บเชื้อออกจากร่างกาย เช่น การตัดถุงน้ำดีออกเพราะเป็นแหล่งเก็บเชื้อโรคไทฟอยด์ หรือในกรณีเป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรก ถ้าเราสามารถตัดส่วนที่เป็น ออกได้หมดก็สามารถป้องกันการกระจายของโรคในตัวผู้ป่วยได้
2. ลดการติดต่อให้น้อยลง (Reduce Communicability) โดยการให้การรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ก็เท่ากับเป็นการป้องกันไม่ให้โรคระบาดต่อไปได้ เช่น การฉีดยาเพนนิซิลินให้แก่ผู้ป่วยซิฟิลิส หรือการให้การรักษาโรควัณโรคจะทำให้ลดการกระจายไปยังผู้อื่นได้
3. การแยกแหล่งเก็บเชื้อโรค (Segregation of the reservoir) หมายถึง การแยกบุคคลหรือสัตว์ที่เป็นโรคออกไปจากชุมชน ดังนั้นแม้เชื้อโรคสามารถที่จะออกจากแหล่งเก็บเชื้อโรคได้ แต่ก็ไม่สามารถไปติดต่อบุคคลอื่นได้ วิธีที่ใช้อยู่ได้แก่
Ø การแยกกัก (Isolation) หมายถึงการแยกบุคคลที่ป่วยออกจากชุมชนจนกว่าบุคคลนั้นจะไม่มีการติดเชื้อ และไม่แพร่กระจายเชื้อโรคไปยังบุคคลอื่น การที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ป่วยพ้นระยะการติดต่อของโรคหรือไม่ ทำได้โดยการนำอุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ เลือด ฯลฯ มาตรวจหาเชื้อซึ่งขึ้นกับว่าจะเป็นโรคชนิดใด เช่น อหิวาตกโรคเมื่อนำอุจจาระมาตรวจหาเชื้อ จะต้องได้ผลเป็นลบ 3 ครั้งติดต่อกันจึงจะเลิกการแยกกักได้ โรคบางโรคที่เกิดเนื่องจากเชื้อไวรัส เช่น หัด อีสุกอีใส ไม่สามารถตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ การตัดสินว่าควรจะแยกกักนานเท่าใดนั้น มักจะอาศัยประสบการณ์และความชำนาญเป็นเครื่องตัดสิน
Ø การกักกัน (Quarantine) หมายถึงการแยกบุคคลหรือสัตว์ที่ไปสัมผัสกับผู้ป่วย การสัมผัสนี้จะก่อให้เกิดการเสี่ยงที่จะเป็นโรค จุดประสงค์ของการกักกันนี้ จะกักไว้ในช่วงระยะเวลาฟักตัวของโรค (Incubation period) เมื่อพ้นระยะฟักตัวของโรคแล้ว ถ้าไม่มีอาการหรือผลการชัณสูตรโรคให้ผลลบ ก็ควรจะเลิกกักกันได้
4. การค้นหาผู้เป็นพาหะของโรคที่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic case finding) อาจทำได้โดยการตรวจชันสูตรโรคผู้ที่สงสัย เช่น ตรวจอุจจาระในรายที่สงสัยว่าเป็นไทฟอยด์ หรือตรวจเลือดในรายที่สงสัยว่าเป็นโรคมาลาเรีย
5. การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Environmental sanitation) เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการก่อให้เกิดโรคอย่างหนึ่ง เพราะเชื้อโรคที่ออกจากแหล่งเก็บกักเชื้อโรคนั้นสามารถที่จะอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ในช่วงเวลาต่างๆกันแล้วแต่ชนิดของเชื้อโรค เช่น ไข่ของพยาธิ เชื้อบาดทะยักอาจอยู่ในดินได้เป็นเวลาหลายๆปี ฉะนั้นการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมด้วยการควบคุมองค์ประกอบต่างๆอันเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ก็จะเป็นการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน คือ
5.1 การทำลายเชื้อ (Disinfection) เป็นการทำลายเชื้อที่ออกมาจากแหล่งเก็บเชื้อ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ ของผู้ป่วย การทำลายเชื้อโรคอาจทำได้โดยการใช้วิธีการทางฟิสิกส์ หรือ เคมี เช่น การเผา หรือการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
5.2 การควบคุมแมลง (Insect vectors control) เนื่องจากแมลงเป็นพาหะในการนำเชื้อโรคเป็นอย่างดี คือ การถ่ายทอดเชื้อทางกลไก (Mechanical transmission) เช่น แมลงวันนำเชื้ออหิวาตกโรค และ การถ่ายทอดเชื้อทางชีวภาพ ( Biological transmission ) เช่น ยุงนำเชื้อไข้มาลาเรีย, หมัดนำเชื้อกาฬโรค ฯลฯ การควบคุมแมลงแต่ละชนิดมีวิธีการต่างๆกัน แล้วแต่ชนิดและระยะเวลาดำเนินการ โดยสรุปแล้ว การควบคุมแมลงสามารถดำเนินการโดย
5.2.1 Mechanical control เช่น การใช้กับดัก หรือการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
5.2.2 Chemical control โดยการใช้ยาฆ่าแมลง
5.2.3 Biological control การใช้สิ่งมีชีวิตช่วยกำจัด
5.2.4 Personal control การระวังป้องกันตนเอง
5.3 การกำจัดน้ำโสโครก ( Sewage disposal ) น้ำโสโครก (Sewage Wastewater ) หมายถึงสิ่งปฏิกูลที่เป็นของเหลวซึ่งเกิดจากการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆของชุมชน ซึ่งอาจเป็นของเสียที่เป็นของเหลว หรือของเสียที่มีน้ำพาไป เช่น น้ำที่นำสิ่งขับถ่ายของคนและสัตว์ น้ำทิ้งจากบ้านเรือน อาคารร้านค้า โรงงาน ฯลฯ และรวมถึงน้ำฝนที่ไม่ได้รองรับไว้ใช้ประโยชน์ ปกติถ้าไม่มีการกำจัดน้ำโสโครกให้ถูกหลักสุขาภิบาล อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆซึ่งมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการสาธารณสุขดังนี้
5.3.1 ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดเป็น Dysgenic factor
5.3.2 ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคแมลง และสัตว์นำโรค
5.3.3 ทำให้เกิดสภาพที่ไม่น่าดูและเกิดกลิ่นที่น่ารังเกียจ
5.3.4 ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
น้ำโสโครกที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพแล้วสามารถกำจัดได้โดย
- ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ( Disposal into water )
- ปล่อยลงสู่ผิวดิน ( Disposal onto the ground )
- การกำจัดใต้ผิวดิน ( Subsurface irrigation ) วิธีนี้สามารถใช้สำหรับน้ำทิ้งที่ผ่านการตกตะกอนขั้นแรกแล้ว เช่น น้ำทิ้งจากถังเกรอะ ( Septic tank )
5.5 การสุขาภิบาลอาหาร ( Food sanitation ) หมายถึง การจัดและควบคุมอาหารให้สะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค สารพิษของเชื้อโรค พยาธิ และสารเคมีที่เป็นพิษต่างๆ ซึ่งเป็นอันตราย หรืออาจเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สุขภาพอนามัย และการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งทำได้โดยการควบคุม และแก้ไขสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น สถานที่ประกอบอาหาร สิ่งที่จะนำมาเป็นสารอาหาร เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหารและผู้ประกอบอาหาร เพราะถ้าการสุขาภิบาลไม่ดีจะก่อให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือสารพิษในอาหารได้ทำให้อาหารได้ทำให้อาหารขาดคุณภาพ และอาจเป็นโทษต่อร่างกายได้
5.6 การกำจัดสิ่งขับถ่ายมนุษย์ ( Disposal of humanwaste ) สิ่งขับถ่ายมนุษย์ ( Humanwaste, Excreta ) หมายถึงสิ่งปฏิกูลที่ขับจากร่างกาย ซึ่งรวมถึง ปัสสาวะ,อุจจาระ,เหงื่อ,น้ำมูก,น้ำลาย แต่สวนใหญ่อุจจาระและปัสสาวะเป็นปัญหาสำคัญ และจำเป็นในแง่ของการควบคุมโรค เพราะถ้ากำจัดไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล จะทำให้เกิดการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นดินและแหล่งสาธารณะอีกทั้งเป็นแหล่งให้แมลงวางไข่ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคสู่มนุษย์ได้
5.7 การกำจัดขยะมูลฝอย ( Refuse disposal ) ขยะมูลฝอยหมายถึง สิ่งปฏิกูลที่อยู่ในรูปของ ของแข็ง อาจมีน้ำหรือความชื้นตามมาด้วยจำนวนหนึ่ง ปัญหาสาธารณสุขที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ เป็นแหล่งเพาะพันธ์ ของเชื้อโรค แมลงและสัตว์นำโรคต่างๆ อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดบาดแผลโดยตรงด้วย ดังนั้นการกำจัดขยะฯที่ถูกหลักสุขาภิบาลจึงเป็นแนวทางในการควบคุมโรคได้ทางหนึ่ง
การเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่มนุษย์ ( Increasing resistance of the new host )
ภูมิคุ้มกันในมนุษย์เราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการฉีดสารบางอย่างเข้าไปในร่างกายมนุษย์ ( Immunization ) ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้น มีอยู่ 2 ชนิด
1. Active Immunization คือ การให้ภูมิคุ้มกันโดยการฉีดเอาตัวเชื้อโรค หรือผลิตผลของเชื้อโรค ซึ่งทำให้ความรุนแรงของตัวเชื้อโรคหรือพิษของตัวเชื้อโรคลดน้อยลงเข้าไปในร่างนกายมนุษย์ ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทาน ( Antibodies ) ขึ้นมา ซึ่งภูมิต้านทานนี้สามารถต่อต้านการติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากตัวเชื้อโรคชนิดที่เราให้เข้าไปในร่างกายได้ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 พวก คือ
1.1 วัคซีนที่ประกอบด้วยเชื้อทั้งตัว ซึ่งอาจเป็น
Ø วัคซีนตัวตาย( Killed vaccine) วัคซีนประเภทนี้ทำได้โดยการเลี้ยงจุลชีพให้ได้จำนวนมากพอแล้ว ฆ่าจุลชีพเหล่านี้ด้วยสารเคมี เช่น
- วัคซีนป้องกันโรคไอกรน (Pertussis vaccine)
- วัคซีนป้องกันโรคไข้รากสาดน้อย ( Typhoid vaccine)
Ø วัคซีนตัวอ่อนฤทธิ์ ( Attenuated – live vaccine) วัคซีนชนิดนี้ทำจากการนำจุลชีพที่เลี้ยงมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ จนได้จุลชีพเชื้อสายที่มีพิษอ่อนไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ไม่สามารถเพิ่มจำนวนในร่างกายได้ และสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานได้ เช่น
- วัคซีนป้องกันโรคไขสันหลังอักเสบ (Attenuated-live Oral Poliomyelitis vaccine)
- วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน ( Rubella virus vaccine)
- วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG vaccine)
1.2 วัคซีนที่เป็นส่วนประกอบของเชื้อที่ใช้กันมากได้แก่ Toxoid ต่างๆวึ่งทำมาจาก Exotoxin นี้ ไปผ่านขบวนการทำลายพิษที่จะก่อให้เกิดโรคโดยใช้สารเคมี ซึ่งวัคคซีนชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานพิษ Antitoxin ขึ้นได้ เช่น
- วัคซีนป้องกันบาดทะยัก ( Tetanus toxoid )
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ( Diphtheria toxoid )
2. Passive Immunization คือการทำให้ภูมิคุ้มกันโรคโดยการฉีดเอาผลิตผลของสัตว์หรือของมนุษย์ที่เราทราบว่ามีภูมิต้านทานต่อการเกิดเชื้อนั้นๆเข้าไปในร่างกายมนุษย์
การรักษาให้ทันท่วงทีเพื่อลดผลการเจ็บปวดให้น้อยลง ( Minimizing the ill effect of cases that have not been prevented )
เป็นการป้องกันขั้นที่สอง ( Secondary prevention ) เมื่อโรคได้เกิดขึ้นแล้ว เพื่อที่จะลดความรุนแรงของโรคป้องกันการแพร่กระจายของโรค หยุดยั้งการดำเนินการของโรค ช่วยลดระยะเวลาของการเจ็บป่วย ลดระยะการติดต่อของโรค ดังนั้นการวินิจฉัยผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วเมื่อพบมีอาการ ( Early Diagnosis of Symptomatic cases) โดยอาศัยการตรวจร่างกายและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ทำการวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาของโรค ทำให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น เป็นการช่วยป้องกัน และลดความพิการ ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถ้าเป็นโรคติดต่อก็จะช่วยป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นด้วย
โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ(4)
โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อสามารถแบ่งกลุ่มได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น แบ่งตามสาเหตุของโรค เป็นโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ แบ่งตามความสามารถในการแพร่กระจายของโรค หรือแบ่งตามระยะเวลาของโรคเป็นโรคเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง
โรคติดเชื้อ ( infectious disease ) หมายถึง โรคที่คนหรือสัตว์ป่วยจากการติดเชื้อโรค ซึ่งได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หนอนพยาธิ ปาราสิต เชื้อรา เป็นต้น โรคติดเชื้อเกือบทุกชนิดสามารถแพร่ติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ทั้งโดยทางตรงจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิด และทางอ้อมโดยผ่านทางสัตว์ เช่น ยุง หรือสิ่งของ เช่น น้ำหรืออาหาร
โรคติดต่อ ( communicable disease ) จึงหมายถึงโรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ถ่ายทอดจากคน สัตว์ แมลง ที่มีเชื้อไปสู่คนปกติ
โรคไม่ติดต่อ ( non-communicable disease ) หมายถึงโรคที่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพในคน โดยที่สาเหตุหรือพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นไม่สามารถถ่ายทอดหรือติดต่อไปสู่บุคคลอื่น
ทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ หากเกิดพยาธิสภาพเป็นระยะเวลานาน จะเรียกว่า เป็นโรคเรื้อรัง ตัวอย่างโรคติดเชื้อที่เรื้อรังได้แก่ วัณโรค โรคเรื้อน ส่วนตัวอย่างของโรคไม่ติดเชื้อที่เป็นเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง เป็นต้น
โรคติดต่อยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มตามสภาพของปัญหาในขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
1. โรคติดต่อที่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของประเทศ ( diseases of high mortality) ได้แก่ ไข้มาลาเรีย วัณโรค ปอดบวม อุจจาระร่วง และโรคเอดส์
2. โรคติดต่อที่เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยที่สำคัญของประเทศ (diseases of high morbidity) ได้แก่ โรคหนอนพยาธิ โรคอุจจาระร่วง โรคไข้เลือดออก และกามโรค
3. โรคติดต่อที่ยังเป็นปัญหาอยู่ในบางพื้นที่ (endemic sporadic diseases) เช่น อุจจาระร่วงอย่างแรง ไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้าง
4. โรคติดต่อที่มีอุบัติการณ์ต่ำและกำลังใกล้จะหมดไป (diseases of low prevalence) เช่น โปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โรคเรื้อน และพิษสุนัขบ้า
5. โรคติดต่อที่ไม่มีรายงานในประเทศไทยแล้ว (eradicated diseases) ได้แก่ ไข้ทรพิษ กาฬโรค และคุดทะราด
6. โรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่ (emerging or re-emerging diseases) ได้แก่ วัณโรคที่ดื้อต่อยารักษาหลายชนิด โรคเท้าช้าง โรคเอดส์ และโรคอื่นๆที่อาจเกิดการแพร่ระบาดได้ เช่น อีโบลา กาฬโรค ไข้เหลือง เป็นต้น
กรมควบคุมโรคติดต่อแบ่งโรคติดต่อตามลักษณะการติดต่อและกลวิธีการควบคุม เป็น 4 กลุ่ม คือ 1. โรคติดต่อนำโดยแมลง
2. โรคติดต่อจากการสัมผัส
3. โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
4. โรคติดต่อทั่วไป หรือโรคติดต่ออื่นๆ
การจำแนกโรคไม่ติดต่อ
โรคไม่ติดต่อแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้
1. กลุ่มพฤติกรรมสังคม หมายถึง โรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุจากการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิต (life style)ที่เสี่ยงต่อการเกิดพยาธิสภาพของร่างกายและทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต เช่น โรคตับแข็งและโรคพิษสุราเรื้อรังจากการดื่มสุรา โรคปอดหรือหลอดลมจากการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น
2. กลุ่มสิ่งแวดล้อม หมายถึงโรคติดต่อที่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษขึ้น และทำอันตรายต่อร่างกาย เช่น โรคจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี โรคทางเดินหายใจจากการสูดสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม โรคจากพิษสารตะกั่ว
3. กลุ่มพันธุกรรม หมายถึง โรคไม่ติดต่อที่เป็นความผิดปกติภายในร่างกายที่เป็นผลมาจากการรับเอาลักษณะทางกรรมพันธุจาก บิดา-มารดา เช่น โรคทาลัสซีเมีย โรคเบาหวาน
4. กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดเข้าใน 3 กลุ่มข้างต้น เช่น โรคลมชัก โรคพิการแต่กำเนิดโดยไม่ได้เป็นจากพันธุกรรม รวมทั้งโรคที่มีสาเหตุมากกว่า 1 กลุ่ม เช่น การติดสารเสพติด ซึ่งเป็นจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การป้องกันและควบคุมโรคระหว่างประเทศ
ส่วนใหญ่ดำเนินการเฉพาะที่เกี่ยวกับโรคติดต่อ เพราะมุ่งเน้นที่จะป้องกันการแพร่ระบาดของโรค มาตราการที่สำคัญประกอบด้วย การดำเนินการต่อนักท่องเที่ยว ผู้อพยพสินค้า สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ตลอดจนวิธีการเดินทางโยกย้าย หรือการลำเลียงสิ่งของดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายโรคติดต่อระหว่างประเทศซึ่งกำหนดขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก หรือตามกฎหมายในแต่ละท้องที่ รวมทั้งการปกป้องประชาชนจากโรคซึ่งมีชุกชุมในประเทศหนึ่ง ไม่ให้แพร่ระบาดเข้าประเทศอื่นๆ
กิจกรรมสำคัญที่ต้องเน้นหนัก คือ การรายงานโรค โดยมีการกำหนดความสำคัญของการรายงาน ทั้งการรายงานผู้ป่วยและรายงานการระบาด โดยแบ่งโรคออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือ
ประเภทที่ 1 โรคที่ทุกประเทศต้องรายงาน ซึ่งหมายถึงโรคติดต่ออันตราย 4 โรค คือ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ กาฬโรค และไข้เหลือง รวมทั้งโรคอื่นๆที่องค์การอนามัยโลกกำหนด
ประเภทที่ 2 โรคที่มักจะต้องรายงานเมื่อเกิดขึ้น ไม่ว่าที่ใด เพื่อความรวดเร็วในการควบคุมโรค เช่น คอตีบ
ประเภทที่ 3 โรคที่กำหนดให้รายงานเป็นบางท้องที่ ที่เป็นแหล่งระบาด
ประเภทที่ 4 โรคที่ไม่ต้องรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วย แต่ให้รายงานการระบาด เช่น โรคอาหารเป็นพิษ
ประเภทที่ 5 โรคที่ไม่จำเป็นต้องรายงาน ได้แก่ โรคหวัด
ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ประเทศต่างๆสามารถรับสถานการณ์ ความรุนแรงและประสิทธิผลของงานควบคุมโรค และจัดเตรียมมาตรการรองรับการระบาดต่อไป
ส่วนกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรค จะเป็นไปตามแนวทางของแต่ละประเทศที่กำหนดขึ้น ซึ่งมักจะอิงจากคำแนะนำขององค์การอนามัยโรค
สรุป การป้องกันและควบคุมโรค ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค และปัจจัยสามทางระบาดวิทยา ได้แก่ โฮสท์ สิ่งแวดล้อม และสิ่งที่ทำให้เกิดโรค จุดที่เข้าดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคมีสามระดับ ได้แก่ การป้องกันขั้นที่หนึ่ง การป้องกันขั้นที่สอง และการป้องกันขั้นที่สาม การป้องกันและควบคุมโรคจะต้องเลือกจุดที่เข้าดำเนินการป้องกันที่เหมาะสมเพื่อตัดสายใยของการติดต่อ
เอกสารอ้างอิง
1. ศึกษา ภมรสถิตย์.เอกสารการสอน เรื่อง หลักการป้องกันและควบคุมโรค.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2539
2. สุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชา วิทยาการระบาด และการควบคุมโรค หน่วยที่ 1-7.กรุงเทพมหานคร.ห้างหุ้นส่วนจำกัดหนึ่งเจ็ดการพิมพ์.2526
3. ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร.ระบาดวิทยา.ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2538.
4. ไพจิตร ปวะบุตร. เอกสารการสอน เรื่อง หลักการป้องกันและควบคุมโรค.ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2544
Principles of Prevention and Control of Diseases
อาจารย์สุภาภรณ์ เตโชวาณิชย์
การป้องกันและควบคุมโรคต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค (Natural history of disease) ซึ่งมี 3 องค์ประกอบหลักซึ่งมีอิทธิพลเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคและการกระจายของโรคในชุมชนประกอบด้วย (1)
1. มนุษย์ (Host)
2. สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent)
3. สิ่งแวดล้อม (Environment)
Dr. John Gordon เป็นผู้ค้นคิดเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สิ่งที่ทำให้เกิดโรคและสิ่งแวดล้อมเหมือนการเล่นไม้กระดก โดยมีมนุษย์และสิ่งที่ทำให้เกิดโรคเป็นน้ำหนักถ่วงอยู่ทั้งสองข้างของไม่กระดก และสิ่งแวดล้อมเป็นฟัลครัมอยู่ตรงกลาง ความสัมพันธ์ที่พบแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1. มีความสมดุลย์ระหว่างองค์ประกอบทั้งสามจะไม่มีโรคเกิดขึ้น
2. มีภาวะไม่สมดุลระหว่างองค์ประกอบทั้งสาม จะมีโรคเกิดขึ้น โดยภาวะที่ไม่สมดุลย์นี้อาจเกิดขึ้นจาก
2.1 สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent) มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เชื้อโรคมีเพิ่มมากขึ้นหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรคมีความสามารถในการแพร่กระจายโรค หรืออาจเกิดการปรับตัวเองเป็นพันธุ์ใหม่ จะทำให้เกิดโรคมากขึ้นได้
2.2 มนุษย์ (Host) มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ร่างกายอ่อนแอ หรือมีความไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น เช่น เด็กและคนชรา มีโอกาสเกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น
2.3 สิ่งแวดล้อม (Environmental) มีการเปลี่ยนแปลง เช่นในฤดูฝนจะมียุงลายเพิ่มขึ้น ทำให้อุบัติการของไข้เลือดออกสูงขึ้น หรือในคนที่มีฐานะยากจน (Low Socio-economic) ทำให้รับประทานอาหารไม่พอเพียง ทำให้พบโรคขาดอาหารได้บ่อย ในทางตรงข้าม ถ้าเศรษฐานะดี หรือรับประทานอาหารมากเกินไปจะทำให้มีน้ำหนักเพิ่มก็อาจทำให้พบโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในร่างกายก็สูงขึ้นได้เช่นกัน
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งสามนี้ สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบการเกิดโรค ทั้งโรคติดเชื้อ และโรคไร้เชื้อ เช่นการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งปัจจุบันเป็นสาเหตุการตายที่สูงที่สุด นอกจากนี้จะพบว่ามนุษย์มีส่วนส่งเสริมให้เกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าหากสภาวะของร่างกายไม่สมบูรณ์ เช่น ตาบอดสี หรือเมาสุรา นอกจากนี้ สภาวะอารมณ์ก็จะมีผล เช่น วัยรุ่นใจร้อน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย ส่วนสิ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูง สภาพของรถยนต์ไม่เรียบร้อย ส่วนสิ่งแวดล้อมได้แก่ ฝนตก ถนนลื่น หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ ก็จะส่งเสริมให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น
ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างร่างกายมนุษย์กับตัวเชื้อโรค ( Agent – Host Interaction ) (2)
เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสกับตัวเชื้อโรค จะมีผลเกิดขึ้นโดยตรงที่อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประการ คือ
1. เนื่องจากมีจำนวนเชื้อโรคไม่มากพอ และหนทางเข้าสู่ตัวมนุษย์ไม่เหมาะสม หรือมนุษย์มีภูมิคุ้มกันโรคโดยเฉพาะ ฉะนั้นตัวเชื้อโรคจะไม่สามารถที่จะไปเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนภายในร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้
2. เมื่อมีการติดเชื้อขึ้น อาจจะเป็นการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการทางเวชกรรมก็ได้ ( Subclinical )
3. เมื่อมีการติดเชื้อและเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคขึ้น แต่จำนวนรายป่วยด้วยโรคที่จะเกิดขึ้นนั้นอาจจะผันผวนไปตามพยาธิสภาพของตัวเชื้อโรค เช่น ในกรณีตัวเชื้อโรคเป็นเชื้อประเภท Poliovirus ส่วนมากรายป่วยด้วยโรคที่เกิดจากเชื้อนี้มักจะเกิดขึ้นในรูปแบบของการติดเชื้อ แต่ไม่ปรากฎอาการของโรคไขสันหลังอักเสบอย่างเด่นชัด ( Inapparent infection) ส่วนการติดเชื้อด้วยเชื้อ Measles virus รายป่วยด้วยโรคไข้หัดจะเกิดอาการและอาการแสดงของโรคไข้หัดอย่างเด่นชัด ยิ่งไปกว่านั้นรายป่วยด้วยโรคที่แสดงอาการออกมาอย่างเด่นชัด ยังมีความรุนแรงแตกต่างกันออกไปอีก ตั้งแต่แสดงอาการน้อยๆจนถึงแสดงอาการอย่างรุนแรง และผลสุดท้ายของการป่วยด้วยโรคก็ยังผันผวนออกไปอีก กล่าวคือหายจากการเป็นโรคกลับฟื้นคืนเป็นปกติ หรือหายจากการเป็นโรคแต่มีความพิการเกิดขึ้น หรือไม่หายจากการเป็นโรคและถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่รายป่วยหายจากการป่วยด้วยโรคต่างๆแล้ว ผลของการป่วยด้วยโรคยังมีปัญหาที่สำคัญเกิดขึ้นตามมาภายหลังอีก 3 ประการ คือ
1.รายที่ป่วยด้วยโรคแล้วจะหายกลับคืนเข้าสู่สภาพปกติ หรือเกิดความพิการขึ้น เช่น ภายหลังป่วยด้วยโรคไขสันหลังอักเสบ อาจจะเกิดอาการอัมพาตตามมาภายหลัง เป็นต้น
2. ตัวเชื้อยังคงอาศัยอยู่ภายในร่างกายของรายป่วย ไม่ว่าจะปรากฎอยู่อย่างซ่อนเร้นหรืออย่างเด่นชัดก็ตาม ส่วนมากเมื่อมนุษย์มีการติดเชื้อแล้ว สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือบุคคลนั้นจะต้องมีเชื้อโรคอาศัยอยู่ ซึ่งอาจจะอาศัยอยู่ภายในช่วงเวลาสั้นๆหรือช่วงเวลานานๆ ดังนั้นคำว่า “พาหะของโรค” ( carrier ) จึงนำมาใช้เรียกบุคคลที่มีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการของโรคออกมาให้เห็น และบุคคลที่เป็นพาหะของโรคบางชนิด อาจมีตัวเชื้อโรคอยู่ภายในร่างกายตลอดชีวิตก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะมีเชื้อโรคอาศัยภายในร่างกาย 2-3 สัปดาห์หรือหลายๆเดือน เช่น พาหะของเชื้อ Poliovirus ,Diphtheria และMeningococci เป็นต้น มีการติดเชื้อบางชนิดเป็นการติดเชื้อแบบซ่อนเร้นอยู่ภายในร่างกาย หมายความว่ามีตัวเชื้อโรคอาศัยอยู่ภายในร่างกายอย่างเงียบๆ และการติดเชื้อแบบนี้นานๆอาจจะลุกลาม และแสดงอาการป่วยด้วยโรคนั้นๆขึ้นมาก็ได้ บุคคลที่ติดเชื้อประเภทนี้จะกลายเป็นแหล่งเก็บเชื้อที่สำคัญ เช่น เชื้อไวรัสของโรค Herpes simplex และเชื้อไวรัสของโรคไข้สุกใส เป็นต้น
3. ปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญ กล่าวคือร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นภายหลังจากมีการติดเชื้อนั้นๆแล้ว แต่ถ้าภูมิคุ้มกันของโรคที่เกิดขึ้นไม่สมบูรณ์พอจะทำให้เกิดโรคนั้นซ้ำขึ้นได้อีก และบุคคลนั้นจะมีการติดเชื้อของโรคเดิมซ้ำขึ้นได้อีก ซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่ก็ได้ และบุคคลนั้นก็จะกลายเป็นแหล่งเก็บเชื้อ ซึ่งพร้อมที่จะแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นได้
การป้องกันของร่างกายมนุษย์ (Host Defenses)
ร่างกายมนุษย์เปรียบได้เหมือนกับเป็นป้อมปราการที่แข็งแรง ซึ่งมีตัวเชื้อโรคหลายร้อยหลายพันชนิดเป็นศัตรูที่ล้อมรอบ เพื่อที่จะหาทางเข้าโจมตี หรือหาช่องทางเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของเชื้อโรค และกลไกของร่างกายทั้งด้านกายวิภาค และสรีรวิทยาที่จะป้องกันไม่ให้ป่วยด้วยโรคต่างๆ
1. ด้านกายวิภาค ผิวหนังที่ห่อหุ้มร่างกายมนุษย์และเยื่อมูก (Mucous membrane) ที่บุทางเดินและท่อต่างๆของร่างกาย จะป้องกันมิให้ตัวเชื้อโรคต่างๆและสารมีพิษที่อยู่ภายนอกร่างกายบุกรุกเข้าสู่ภายในร่างกาย ผม ต่อมเหงื่อ และไขมันใต้ผิวหนัง จะมาทำหน้าที่ป้องกันแรงที่จะมากระทบกระแทก และช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ นอกจากนี้ต่อมเหงื่อยังจะหลั่งน้ำเหงื่ออกมาบนผิวหนังซึ่งมีฤทธิ์ทำลายตัวเชื้อโรคได้
2. ด้านสรีรวิทยา ความรู้สึกต่างๆของมนุษย์ จะทำหน้าที่ให้มนุษย์สามารถหลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆได้ เช่น การได้กลิ่นเหม็นจะกลั้นหายใจได้ทันที การไอ จาม จะทำหน้าที่ขับสิ่งแปลกปลอมให้หลุดออกไปจากระบบทางเดินหายใจ
3. การต่อสู้กับตัวเชื้อโรค ร่างกายมนุษย์จะมีกลไกการป้องกันอยู่หลายประการ ที่จะต่อสู้กับการบุกรุกของตัวเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ภายในร่างกาย การอักเสบจะเป็นกลไกแรกที่จะต่อสู้กับตัวเชื้อโรค โดยอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่เชื้อโรคเข้าไปอาศัยอยู่ จะแสดงการสนองตอบ การอักเสบจะเป็นการแสดงสนองตอบของร่างกายที่จะพยายามห้อมล้อมตัวเชื้อโรคไว้ มิให้แพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และจัดการทำลายตัวเชื้อโรคนั้น
ระดับการป้องกันโรค ( Levels of prevention ) (3)
การป้องกันโรคแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ได้ 3 ระดับ ตามระยะต่างๆของโรคดังนี้ คือ
1. การป้องกันขั้นที่หนึ่ง ( Primary prevention )
การป้องกันขั้นนี้เป็นการป้องกันในระยะที่ยังไม่มีโรคเกิดขึ้น โดยการกำจัดหรือลดสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ทั้งนี้เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการหรืออาการแสดงของโรคเกิดขึ้น โรคที่เกิดขึ้นอาจแยกออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค คือ
- กลุ่มโรคที่เกิดจากสาเหตุอย่างเดียว ( Single factor) ได้แก่โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคคอตีบ โรคไอกรน วัณโรค เป็นต้น
- กลุ่มโรคที่เกิดจากสาเหตุหลายอย่าง ( Multiple factors ) ได้แก่โรคไร้เชื้อต่างๆ เช่น โรคหัวใจโคโรนารี โรคมะเร็งต่างๆ เป็นต้น
โรคติดเชื้อมักมีวิธีการป้องกันและควบคุมที่ได้ผลดีกว่าโรคไร้เชื้อ ความสำเร็จของงานสาธารณสุขในอดีตในประเทศที่พัฒนาทั้งหลายก็เป็นผลเนื่องมาจากการป้องกันขั้นแรกนี่เองโดยการปรับปรุงและแก้ไข เช่น งานอนามัยสิ่งแวดล้อม การให้ภูมิคุ้มกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น
ปัญหาที่เผชิญหน้าประเทศที่พัฒนาทั้งหลายขณะนี้ ก็คือโรคไร้เชื้อ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอุบัติเหตุต่างๆ ส่วนปัญหาที่เผชิญหน้าประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย ได้แก่ โรคติดเชื้อ เป็นส่วนใหญ่
การป้องกันระยะแรกเพื่อไม่ให้โรคเกิดขึ้น จะต้องมุ่งไปที่ ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค ( Stage of susceptibility ) โดยถือหลักดังนี้ คือ
1. เปลี่ยนความไวต่อการเกิดโรค ( Susceptibility ) ของประชากร เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรค การปรับปรุงแก้ไขภาวะโภชนาการให้ดีขึ้น
2. ลดโอกาสผู้ที่มีความไวในการเกิดโรค (Susceptibility individual ) ที่จะไปสัมผัสโรค
3. กำจัดหรือลดสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรค
การป้องกันขั้นแรกนี้ ประกอบด้วยงานที่สำคัญดังนี้ คือ
Ø การส่งเสริมสุขภาพ ( Health promotion)
การส่งเสริมสุขภาพนับเป็นการป้องกันที่สำคัญมากอันหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ช่วยสนับสนุนงานป้องกันในระดับอื่นๆให้ดีขึ้น งานส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วยงานต่างๆ เช่น งานสุขศึกษา, งานโภชนาการ, งานสุขวิทยาส่วนบุคคล, งานอนามัยสิ่งแวดล้อม, งานสุขาภิบาล, งานวางแผนครอบครัว, งานอนามัยแม่และเด็ก และงานสุขวิทยาจิต
Ø การคุ้มกันเฉพาะ ( Specific protection)
การคุ้มกันเฉพาะเป็นการป้องกันสาเหตุของโรคโดยตรงในชุมชน อาจทำได้โดยการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานโรค การกำจัดสาเหตุของโรคโดยตรง และการควบคุมพาหะนำโรค
2. การป้องกันขั้นที่สอง ( Secondary prevention)
การป้องกันในระยะนี้เป็นการป้องกันเมื่อโรคได้เกิดขึ้นแล้ว เพื่อที่จะลดความรุนแรงของโรค ป้องกันการแพร่กระจายของโรค หยุดยั้งการดำเนินการของโรค ช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยและลดระยะการติดต่อของโรค การป้องกันระดับนี้ส่วนใหญ่จะกระทำในระยะก่อนมีอาการ และขณะมีอาการของโรคเกิดขึ้น การป้องกันขั้นที่สองนี้ได้แก่การวินิจฉัยในระยะแรกเริ่มและให้การรักษาทันที ( Early diagnosis and prompt treatment) ซึ่งประกอบด้วย
Ø การค้นหาผู้ป่วยในระยะที่ยังไม่มีอาการ ( Early detection of asymptomatic cases) การค้นหาผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ ส่วนใหญ่ตรวจพบได้โดยการตรวจคัดกรองโรค ( Screening of diseases) เช่น
- การตรวจวัดความดันโลหิตในการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน
- การตรวจภาพรังสีปอดเพื่อดูวัณโรค และมะเร็งปอด
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อตรวจดูโรคเบาหวาน
Ø การวินิจฉัยผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วเมื่อพบว่ามีอาการ ( Early diagnosis of symptomatic cases )
การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการทดสอบต่างๆ ควรทำโดยเร็วและทำอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที ลดระยะเวลาของโรค ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ช่วยป้องกันและลดความพิการตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่เป็นโรคติดเชื้อก็ช่วยป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นด้วย
3. การป้องกันขั้นที่สาม ( Tertiary prevention )
การป้องกันขั้นนี้เป็นการป้องกันในระยะมีความพิการหรือป่วยมาก ( Stage of disability or advance disease) การป้องกันขั้นนี้เป็นการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรค ลดความพิการของโรค ตลอดจนผลเสียต่างๆ ที่จะตามมาภายหลังจากการเป็นโรค การป้องกันระยะนี้เป็นการป้องกันในขณะที่โรคเป็นมากแล้ว นับว่าเสี่ยงต่ออันตรายและได้ผลน้อยกว่าการป้องกันสองระดับแรก การป้องกันระยะที่สาม ประกอบด้วย
Ø การกำจัดความพิการ ( Disability limitation)
การกำจัดความพิการนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การที่จะสามารถกำจัดหรือลดความพิการได้
Ø การฟื้นฟูสุขภาพ ( Rehabilitation )
การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยเพื่อให้ได้มีโอกาสใช้ส่วนพิการนั้นให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้โดยไม่เป็นภาระแก่สังคมมากนัก ทำให้ผู้ป่วยพิการสามารถจะมีชีวิตอยู่อย่างคนทั่วไป หรือใกล้เคียงคนทั่วไปมากที่สุดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ผู้ป่วยที่พิการควรจะช่วยตนเองในการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ สามารถใช้เครื่องช่วยความพิการ เช่น แขนเทียม ได้ถูกต้อง และคล่องตัว ตามความพิการที่ตนมีอยู่
ประเภทของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาทางด้านฟื้นฟูสุขภาพ อาจแบ่งออกได้ 5 ประเภท คือ
1. ความผิดปกติทางประสาทและกล้ามเนื้อ ( Neuro-muscular disorders ) เช่น โรคโปลิโอ ,โรคเส้นเลือดสมองตีบตัน
2. ความผิดปกติทางกระดูกและกล้ามเนื้อ ( Musculo-skeletal disorders ) เช่น โรคข้อต่างๆ
3. พวกที่โดนตัดแขนและขา ( Amputees)
4. ความผิดปกติทางหัวใจและปอด ( Cardio-pulmonary disorders) เช่น โรคหัวใจโคโรนารี ,โรคปอดเรื้อรัง
5. อื่นๆ เช่น หัวไหล่ขัด ( Frozen shoulder )
งานทางด้านฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น
- กายภาพบำบัด ( Physical therapy ) การใช้เครื่องมือต่างๆในการช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยที่พิการ
- กิจกรรมบำบัด ( Occupational therapy ) การฝึกผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับความละเอียดอ่อน เช่น การใช้มือ การใช้แขนขาเทียม
- อาชีวะบำบัด ( Vocational therapy ) การฝึกผู้ป่วยเกี่ยวกับงานอาชีพที่เคยทำอยู่ หรือหางานใหม่ที่เหมาะสมให้
- อรรถบำบัด ( Speech therapy ) ตรวจสอบความพิการเกี่ยวกับการพูด และปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อ
- การฟื้นฟูสภาพทางจิต ผู้ป่วยที่มีความพิการทางกาย ย่อมมีปัญหาทางจิตมากกว่าบุคคลทั่วไป จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตใจ วิธีการช่วยฟื้นฟูสภาพทางจิต เช่น
v ส่งเสริมเอาใจช่วย เช่น พูดให้กำลังใจให้เกิดความสบายใจ หายวิตกทุกข์ร้อนกับความพิการของตัวเอง
v แนะนำและอธิบายให้เข้าใจสภาพความจริงต่างๆ
v ให้เรียนรู้ความจริงต่างๆด้วยตัวของตัวเอง
v เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง
- การฟื้นฟูสภาพทางสังคม ติดตามผู้ป่วยที่พิการ ผู้ป่วยโรคจิตโรคประสาท หรือโรคที่สังคมรังเกียจ ฝึกอาชีพที่เหมาะสม และหาทางให้สังคมยอมรับผู้ป่วยกลับคืนสู่ชุมชน
แนวทางในการป้องกันโรค
แนวทางในการป้องกันโรค ควรจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆของการป้องกันโรค โดยเฉพาะในการป้องกันขั้นที่หนึ่ง ( Primary prevention) ควรรีบดำเนินการป้องกันก่อนที่จะมีพยาธิสภาพเกิดขึ้น หรือก่อนที่พยาธิสภาพนั้นจะเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่ปกติไม่ได้ แนวทางในการป้องกันโรค ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. หาจุดที่จะดำเนินการเพื่อตัดสายใยของการติดต่อ ( Chain of transmission )
2. ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะและอนามัย
3. ทำการป้องกันขั้นแรกขณะที่โรคยังไม่เกิดขึ้นดีกว่าทำการป้องกันขั้นที่สอง ซึ่งโรคเกิดขึ้นแล้ว
4. ดำเนินการกำจัดหรือลดปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคและปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรค
5. หยุดยั้งการดำเนินการของโรคโดยให้การรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรค
ในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคต่างๆ ทั้งโรคติดเชื้อ (Infectious diseases) และโรคไร้เชื้อ (Non- Infectious diseases) อาศัยพื้นฐานเกี่ยวกับสาเหตุของโรค และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งสาม คือ Host, Agent และEnvironment เป็นหลักในการวางมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคได้ดังนี้ (1)
1. การเฝ้าระวังโรค (Disease surveillance)
2. สุขศึกษา (Health Education)
3. การป้องกันการกระจายของโรค (Preventing spread)
4. การให้ภูมิคุ้มกันแก่มนุษย์ (Increasing the resistance of the new host)
5. การรักษาให้ทันท่วงที เพื่อลดผลการเจ็บปวดให้น้อยลง (Minimizing the ill effect of cases that have not been prevented)
การเฝ้าระวังโรค (Disease surveillance)
การเฝ้าระวังโรค หมายถึง การเฝ้าสังเกต และพิจารณาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการเกิดและการแพร่กระจายของโรคในทุกๆด้านที่มีส่วนสำคัญต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนสำคัญของการการเฝ้าระวังโรค ประกอบด้วย
1. การรวบรวมข้อมูลทางด้านระบาดวิทยา
2. การประเมินผลข้อมูล
3. การรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรค
ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ได้จากการเฝ้าระวังโรคจะต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ก็มีประโยชน์ในแง่ของการเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของโรคในชุมชน ซึ่งสามารถนำไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคให้ได้ผลดี โดยข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการค้นพบภาวะการระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว โดยมีหลักเกณฑ์ว่า ถ้าอัตราป่วยของโรคเพิ่มขึ้นมากกว่า Mean + 2 standard deviation ของโรคนั้นถือว่ามีการระบาดของโรคนั้น และจะได้รับการดำเนินการวางแผนในการป้องกันและควบคุมโรคได้ทันท่วงที
สุขศึกษา (Health Education)
สุขศึกษา หมายถึง ขบวนการและวิธีการทั้งหมดที่จะทำให้ประชาชนได้รู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ สร้างทัศนคติในทางรับผิดชอบพร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ดังนั้นการให้สุขศึกษาแก่ประชาชนหรือชุมชน จะเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคต่างๆประสบผลสำเร็จอย่างถาวร
การป้องกันการกระจายของโรค (Preventing Spread)
การควบคุมโรคที่เกิดจากการติดเชื้อนั้น สามารถทำได้โดยการกวาดล้างแหล่งเก็บเชื้อโรคต่างๆเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคนั้นถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นๆได้ ซึ่งการป้องกันการกระจายของโรคมีหลายวิธี คือ
1. การกำจัดแหล่งเก็บเชื้อโรค (Reservoir eradication) ถ้าสัตว์เป็นแหล่งเก็บเชื้อโรค วิธีการกำจัดที่ดีที่สุดก็คือฆ่าสัตว์นั้นเสีย แต่ถ้ามนุษย์เป็นแหล่งเก็บเชื้อโรค การกำจัดเชื้อโรคอาจดำเนินการโดยให้ยาปฏิชีวนะต่างๆเข้าไปฆ่าเชื้อโรคนั้นๆ หรือในบางครั้งอาจจะต้องดำเนินการผ่าตัดเพื่อนำแหล่งเก็บเชื้อออกจากร่างกาย เช่น การตัดถุงน้ำดีออกเพราะเป็นแหล่งเก็บเชื้อโรคไทฟอยด์ หรือในกรณีเป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรก ถ้าเราสามารถตัดส่วนที่เป็น ออกได้หมดก็สามารถป้องกันการกระจายของโรคในตัวผู้ป่วยได้
2. ลดการติดต่อให้น้อยลง (Reduce Communicability) โดยการให้การรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ก็เท่ากับเป็นการป้องกันไม่ให้โรคระบาดต่อไปได้ เช่น การฉีดยาเพนนิซิลินให้แก่ผู้ป่วยซิฟิลิส หรือการให้การรักษาโรควัณโรคจะทำให้ลดการกระจายไปยังผู้อื่นได้
3. การแยกแหล่งเก็บเชื้อโรค (Segregation of the reservoir) หมายถึง การแยกบุคคลหรือสัตว์ที่เป็นโรคออกไปจากชุมชน ดังนั้นแม้เชื้อโรคสามารถที่จะออกจากแหล่งเก็บเชื้อโรคได้ แต่ก็ไม่สามารถไปติดต่อบุคคลอื่นได้ วิธีที่ใช้อยู่ได้แก่
Ø การแยกกัก (Isolation) หมายถึงการแยกบุคคลที่ป่วยออกจากชุมชนจนกว่าบุคคลนั้นจะไม่มีการติดเชื้อ และไม่แพร่กระจายเชื้อโรคไปยังบุคคลอื่น การที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ป่วยพ้นระยะการติดต่อของโรคหรือไม่ ทำได้โดยการนำอุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ เลือด ฯลฯ มาตรวจหาเชื้อซึ่งขึ้นกับว่าจะเป็นโรคชนิดใด เช่น อหิวาตกโรคเมื่อนำอุจจาระมาตรวจหาเชื้อ จะต้องได้ผลเป็นลบ 3 ครั้งติดต่อกันจึงจะเลิกการแยกกักได้ โรคบางโรคที่เกิดเนื่องจากเชื้อไวรัส เช่น หัด อีสุกอีใส ไม่สามารถตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ การตัดสินว่าควรจะแยกกักนานเท่าใดนั้น มักจะอาศัยประสบการณ์และความชำนาญเป็นเครื่องตัดสิน
Ø การกักกัน (Quarantine) หมายถึงการแยกบุคคลหรือสัตว์ที่ไปสัมผัสกับผู้ป่วย การสัมผัสนี้จะก่อให้เกิดการเสี่ยงที่จะเป็นโรค จุดประสงค์ของการกักกันนี้ จะกักไว้ในช่วงระยะเวลาฟักตัวของโรค (Incubation period) เมื่อพ้นระยะฟักตัวของโรคแล้ว ถ้าไม่มีอาการหรือผลการชัณสูตรโรคให้ผลลบ ก็ควรจะเลิกกักกันได้
4. การค้นหาผู้เป็นพาหะของโรคที่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic case finding) อาจทำได้โดยการตรวจชันสูตรโรคผู้ที่สงสัย เช่น ตรวจอุจจาระในรายที่สงสัยว่าเป็นไทฟอยด์ หรือตรวจเลือดในรายที่สงสัยว่าเป็นโรคมาลาเรีย
5. การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Environmental sanitation) เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการก่อให้เกิดโรคอย่างหนึ่ง เพราะเชื้อโรคที่ออกจากแหล่งเก็บกักเชื้อโรคนั้นสามารถที่จะอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ในช่วงเวลาต่างๆกันแล้วแต่ชนิดของเชื้อโรค เช่น ไข่ของพยาธิ เชื้อบาดทะยักอาจอยู่ในดินได้เป็นเวลาหลายๆปี ฉะนั้นการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมด้วยการควบคุมองค์ประกอบต่างๆอันเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ก็จะเป็นการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน คือ
5.1 การทำลายเชื้อ (Disinfection) เป็นการทำลายเชื้อที่ออกมาจากแหล่งเก็บเชื้อ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ ของผู้ป่วย การทำลายเชื้อโรคอาจทำได้โดยการใช้วิธีการทางฟิสิกส์ หรือ เคมี เช่น การเผา หรือการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
5.2 การควบคุมแมลง (Insect vectors control) เนื่องจากแมลงเป็นพาหะในการนำเชื้อโรคเป็นอย่างดี คือ การถ่ายทอดเชื้อทางกลไก (Mechanical transmission) เช่น แมลงวันนำเชื้ออหิวาตกโรค และ การถ่ายทอดเชื้อทางชีวภาพ ( Biological transmission ) เช่น ยุงนำเชื้อไข้มาลาเรีย, หมัดนำเชื้อกาฬโรค ฯลฯ การควบคุมแมลงแต่ละชนิดมีวิธีการต่างๆกัน แล้วแต่ชนิดและระยะเวลาดำเนินการ โดยสรุปแล้ว การควบคุมแมลงสามารถดำเนินการโดย
5.2.1 Mechanical control เช่น การใช้กับดัก หรือการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
5.2.2 Chemical control โดยการใช้ยาฆ่าแมลง
5.2.3 Biological control การใช้สิ่งมีชีวิตช่วยกำจัด
5.2.4 Personal control การระวังป้องกันตนเอง
5.3 การกำจัดน้ำโสโครก ( Sewage disposal ) น้ำโสโครก (Sewage Wastewater ) หมายถึงสิ่งปฏิกูลที่เป็นของเหลวซึ่งเกิดจากการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆของชุมชน ซึ่งอาจเป็นของเสียที่เป็นของเหลว หรือของเสียที่มีน้ำพาไป เช่น น้ำที่นำสิ่งขับถ่ายของคนและสัตว์ น้ำทิ้งจากบ้านเรือน อาคารร้านค้า โรงงาน ฯลฯ และรวมถึงน้ำฝนที่ไม่ได้รองรับไว้ใช้ประโยชน์ ปกติถ้าไม่มีการกำจัดน้ำโสโครกให้ถูกหลักสุขาภิบาล อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆซึ่งมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการสาธารณสุขดังนี้
5.3.1 ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดเป็น Dysgenic factor
5.3.2 ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคแมลง และสัตว์นำโรค
5.3.3 ทำให้เกิดสภาพที่ไม่น่าดูและเกิดกลิ่นที่น่ารังเกียจ
5.3.4 ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
น้ำโสโครกที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพแล้วสามารถกำจัดได้โดย
- ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ( Disposal into water )
- ปล่อยลงสู่ผิวดิน ( Disposal onto the ground )
- การกำจัดใต้ผิวดิน ( Subsurface irrigation ) วิธีนี้สามารถใช้สำหรับน้ำทิ้งที่ผ่านการตกตะกอนขั้นแรกแล้ว เช่น น้ำทิ้งจากถังเกรอะ ( Septic tank )
5.5 การสุขาภิบาลอาหาร ( Food sanitation ) หมายถึง การจัดและควบคุมอาหารให้สะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค สารพิษของเชื้อโรค พยาธิ และสารเคมีที่เป็นพิษต่างๆ ซึ่งเป็นอันตราย หรืออาจเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สุขภาพอนามัย และการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งทำได้โดยการควบคุม และแก้ไขสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น สถานที่ประกอบอาหาร สิ่งที่จะนำมาเป็นสารอาหาร เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาหารและผู้ประกอบอาหาร เพราะถ้าการสุขาภิบาลไม่ดีจะก่อให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือสารพิษในอาหารได้ทำให้อาหารได้ทำให้อาหารขาดคุณภาพ และอาจเป็นโทษต่อร่างกายได้
5.6 การกำจัดสิ่งขับถ่ายมนุษย์ ( Disposal of humanwaste ) สิ่งขับถ่ายมนุษย์ ( Humanwaste, Excreta ) หมายถึงสิ่งปฏิกูลที่ขับจากร่างกาย ซึ่งรวมถึง ปัสสาวะ,อุจจาระ,เหงื่อ,น้ำมูก,น้ำลาย แต่สวนใหญ่อุจจาระและปัสสาวะเป็นปัญหาสำคัญ และจำเป็นในแง่ของการควบคุมโรค เพราะถ้ากำจัดไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล จะทำให้เกิดการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นดินและแหล่งสาธารณะอีกทั้งเป็นแหล่งให้แมลงวางไข่ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคสู่มนุษย์ได้
5.7 การกำจัดขยะมูลฝอย ( Refuse disposal ) ขยะมูลฝอยหมายถึง สิ่งปฏิกูลที่อยู่ในรูปของ ของแข็ง อาจมีน้ำหรือความชื้นตามมาด้วยจำนวนหนึ่ง ปัญหาสาธารณสุขที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ เป็นแหล่งเพาะพันธ์ ของเชื้อโรค แมลงและสัตว์นำโรคต่างๆ อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดบาดแผลโดยตรงด้วย ดังนั้นการกำจัดขยะฯที่ถูกหลักสุขาภิบาลจึงเป็นแนวทางในการควบคุมโรคได้ทางหนึ่ง
การเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่มนุษย์ ( Increasing resistance of the new host )
ภูมิคุ้มกันในมนุษย์เราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการฉีดสารบางอย่างเข้าไปในร่างกายมนุษย์ ( Immunization ) ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้น มีอยู่ 2 ชนิด
1. Active Immunization คือ การให้ภูมิคุ้มกันโดยการฉีดเอาตัวเชื้อโรค หรือผลิตผลของเชื้อโรค ซึ่งทำให้ความรุนแรงของตัวเชื้อโรคหรือพิษของตัวเชื้อโรคลดน้อยลงเข้าไปในร่างนกายมนุษย์ ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทาน ( Antibodies ) ขึ้นมา ซึ่งภูมิต้านทานนี้สามารถต่อต้านการติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากตัวเชื้อโรคชนิดที่เราให้เข้าไปในร่างกายได้ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 พวก คือ
1.1 วัคซีนที่ประกอบด้วยเชื้อทั้งตัว ซึ่งอาจเป็น
Ø วัคซีนตัวตาย( Killed vaccine) วัคซีนประเภทนี้ทำได้โดยการเลี้ยงจุลชีพให้ได้จำนวนมากพอแล้ว ฆ่าจุลชีพเหล่านี้ด้วยสารเคมี เช่น
- วัคซีนป้องกันโรคไอกรน (Pertussis vaccine)
- วัคซีนป้องกันโรคไข้รากสาดน้อย ( Typhoid vaccine)
Ø วัคซีนตัวอ่อนฤทธิ์ ( Attenuated – live vaccine) วัคซีนชนิดนี้ทำจากการนำจุลชีพที่เลี้ยงมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ จนได้จุลชีพเชื้อสายที่มีพิษอ่อนไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ไม่สามารถเพิ่มจำนวนในร่างกายได้ และสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานได้ เช่น
- วัคซีนป้องกันโรคไขสันหลังอักเสบ (Attenuated-live Oral Poliomyelitis vaccine)
- วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน ( Rubella virus vaccine)
- วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG vaccine)
1.2 วัคซีนที่เป็นส่วนประกอบของเชื้อที่ใช้กันมากได้แก่ Toxoid ต่างๆวึ่งทำมาจาก Exotoxin นี้ ไปผ่านขบวนการทำลายพิษที่จะก่อให้เกิดโรคโดยใช้สารเคมี ซึ่งวัคคซีนชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานพิษ Antitoxin ขึ้นได้ เช่น
- วัคซีนป้องกันบาดทะยัก ( Tetanus toxoid )
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ( Diphtheria toxoid )
2. Passive Immunization คือการทำให้ภูมิคุ้มกันโรคโดยการฉีดเอาผลิตผลของสัตว์หรือของมนุษย์ที่เราทราบว่ามีภูมิต้านทานต่อการเกิดเชื้อนั้นๆเข้าไปในร่างกายมนุษย์
การรักษาให้ทันท่วงทีเพื่อลดผลการเจ็บปวดให้น้อยลง ( Minimizing the ill effect of cases that have not been prevented )
เป็นการป้องกันขั้นที่สอง ( Secondary prevention ) เมื่อโรคได้เกิดขึ้นแล้ว เพื่อที่จะลดความรุนแรงของโรคป้องกันการแพร่กระจายของโรค หยุดยั้งการดำเนินการของโรค ช่วยลดระยะเวลาของการเจ็บป่วย ลดระยะการติดต่อของโรค ดังนั้นการวินิจฉัยผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วเมื่อพบมีอาการ ( Early Diagnosis of Symptomatic cases) โดยอาศัยการตรวจร่างกายและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ทำการวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาของโรค ทำให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น เป็นการช่วยป้องกัน และลดความพิการ ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถ้าเป็นโรคติดต่อก็จะช่วยป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นด้วย
โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ(4)
โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อสามารถแบ่งกลุ่มได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น แบ่งตามสาเหตุของโรค เป็นโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ แบ่งตามความสามารถในการแพร่กระจายของโรค หรือแบ่งตามระยะเวลาของโรคเป็นโรคเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง
โรคติดเชื้อ ( infectious disease ) หมายถึง โรคที่คนหรือสัตว์ป่วยจากการติดเชื้อโรค ซึ่งได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หนอนพยาธิ ปาราสิต เชื้อรา เป็นต้น โรคติดเชื้อเกือบทุกชนิดสามารถแพร่ติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ทั้งโดยทางตรงจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิด และทางอ้อมโดยผ่านทางสัตว์ เช่น ยุง หรือสิ่งของ เช่น น้ำหรืออาหาร
โรคติดต่อ ( communicable disease ) จึงหมายถึงโรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ถ่ายทอดจากคน สัตว์ แมลง ที่มีเชื้อไปสู่คนปกติ
โรคไม่ติดต่อ ( non-communicable disease ) หมายถึงโรคที่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพในคน โดยที่สาเหตุหรือพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นไม่สามารถถ่ายทอดหรือติดต่อไปสู่บุคคลอื่น
ทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ หากเกิดพยาธิสภาพเป็นระยะเวลานาน จะเรียกว่า เป็นโรคเรื้อรัง ตัวอย่างโรคติดเชื้อที่เรื้อรังได้แก่ วัณโรค โรคเรื้อน ส่วนตัวอย่างของโรคไม่ติดเชื้อที่เป็นเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง เป็นต้น
โรคติดต่อยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มตามสภาพของปัญหาในขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
1. โรคติดต่อที่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของประเทศ ( diseases of high mortality) ได้แก่ ไข้มาลาเรีย วัณโรค ปอดบวม อุจจาระร่วง และโรคเอดส์
2. โรคติดต่อที่เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยที่สำคัญของประเทศ (diseases of high morbidity) ได้แก่ โรคหนอนพยาธิ โรคอุจจาระร่วง โรคไข้เลือดออก และกามโรค
3. โรคติดต่อที่ยังเป็นปัญหาอยู่ในบางพื้นที่ (endemic sporadic diseases) เช่น อุจจาระร่วงอย่างแรง ไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้าง
4. โรคติดต่อที่มีอุบัติการณ์ต่ำและกำลังใกล้จะหมดไป (diseases of low prevalence) เช่น โปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โรคเรื้อน และพิษสุนัขบ้า
5. โรคติดต่อที่ไม่มีรายงานในประเทศไทยแล้ว (eradicated diseases) ได้แก่ ไข้ทรพิษ กาฬโรค และคุดทะราด
6. โรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่ (emerging or re-emerging diseases) ได้แก่ วัณโรคที่ดื้อต่อยารักษาหลายชนิด โรคเท้าช้าง โรคเอดส์ และโรคอื่นๆที่อาจเกิดการแพร่ระบาดได้ เช่น อีโบลา กาฬโรค ไข้เหลือง เป็นต้น
กรมควบคุมโรคติดต่อแบ่งโรคติดต่อตามลักษณะการติดต่อและกลวิธีการควบคุม เป็น 4 กลุ่ม คือ 1. โรคติดต่อนำโดยแมลง
2. โรคติดต่อจากการสัมผัส
3. โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
4. โรคติดต่อทั่วไป หรือโรคติดต่ออื่นๆ
การจำแนกโรคไม่ติดต่อ
โรคไม่ติดต่อแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้
1. กลุ่มพฤติกรรมสังคม หมายถึง โรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุจากการดำเนินชีวิตหรือวิถีชีวิต (life style)ที่เสี่ยงต่อการเกิดพยาธิสภาพของร่างกายและทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต เช่น โรคตับแข็งและโรคพิษสุราเรื้อรังจากการดื่มสุรา โรคปอดหรือหลอดลมจากการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น
2. กลุ่มสิ่งแวดล้อม หมายถึงโรคติดต่อที่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษขึ้น และทำอันตรายต่อร่างกาย เช่น โรคจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี โรคทางเดินหายใจจากการสูดสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม โรคจากพิษสารตะกั่ว
3. กลุ่มพันธุกรรม หมายถึง โรคไม่ติดต่อที่เป็นความผิดปกติภายในร่างกายที่เป็นผลมาจากการรับเอาลักษณะทางกรรมพันธุจาก บิดา-มารดา เช่น โรคทาลัสซีเมีย โรคเบาหวาน
4. กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดเข้าใน 3 กลุ่มข้างต้น เช่น โรคลมชัก โรคพิการแต่กำเนิดโดยไม่ได้เป็นจากพันธุกรรม รวมทั้งโรคที่มีสาเหตุมากกว่า 1 กลุ่ม เช่น การติดสารเสพติด ซึ่งเป็นจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การป้องกันและควบคุมโรคระหว่างประเทศ
ส่วนใหญ่ดำเนินการเฉพาะที่เกี่ยวกับโรคติดต่อ เพราะมุ่งเน้นที่จะป้องกันการแพร่ระบาดของโรค มาตราการที่สำคัญประกอบด้วย การดำเนินการต่อนักท่องเที่ยว ผู้อพยพสินค้า สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ตลอดจนวิธีการเดินทางโยกย้าย หรือการลำเลียงสิ่งของดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายโรคติดต่อระหว่างประเทศซึ่งกำหนดขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก หรือตามกฎหมายในแต่ละท้องที่ รวมทั้งการปกป้องประชาชนจากโรคซึ่งมีชุกชุมในประเทศหนึ่ง ไม่ให้แพร่ระบาดเข้าประเทศอื่นๆ
กิจกรรมสำคัญที่ต้องเน้นหนัก คือ การรายงานโรค โดยมีการกำหนดความสำคัญของการรายงาน ทั้งการรายงานผู้ป่วยและรายงานการระบาด โดยแบ่งโรคออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือ
ประเภทที่ 1 โรคที่ทุกประเทศต้องรายงาน ซึ่งหมายถึงโรคติดต่ออันตราย 4 โรค คือ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ กาฬโรค และไข้เหลือง รวมทั้งโรคอื่นๆที่องค์การอนามัยโลกกำหนด
ประเภทที่ 2 โรคที่มักจะต้องรายงานเมื่อเกิดขึ้น ไม่ว่าที่ใด เพื่อความรวดเร็วในการควบคุมโรค เช่น คอตีบ
ประเภทที่ 3 โรคที่กำหนดให้รายงานเป็นบางท้องที่ ที่เป็นแหล่งระบาด
ประเภทที่ 4 โรคที่ไม่ต้องรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วย แต่ให้รายงานการระบาด เช่น โรคอาหารเป็นพิษ
ประเภทที่ 5 โรคที่ไม่จำเป็นต้องรายงาน ได้แก่ โรคหวัด
ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ประเทศต่างๆสามารถรับสถานการณ์ ความรุนแรงและประสิทธิผลของงานควบคุมโรค และจัดเตรียมมาตรการรองรับการระบาดต่อไป
ส่วนกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรค จะเป็นไปตามแนวทางของแต่ละประเทศที่กำหนดขึ้น ซึ่งมักจะอิงจากคำแนะนำขององค์การอนามัยโรค
สรุป การป้องกันและควบคุมโรค ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค และปัจจัยสามทางระบาดวิทยา ได้แก่ โฮสท์ สิ่งแวดล้อม และสิ่งที่ทำให้เกิดโรค จุดที่เข้าดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคมีสามระดับ ได้แก่ การป้องกันขั้นที่หนึ่ง การป้องกันขั้นที่สอง และการป้องกันขั้นที่สาม การป้องกันและควบคุมโรคจะต้องเลือกจุดที่เข้าดำเนินการป้องกันที่เหมาะสมเพื่อตัดสายใยของการติดต่อ
เอกสารอ้างอิง
1. ศึกษา ภมรสถิตย์.เอกสารการสอน เรื่อง หลักการป้องกันและควบคุมโรค.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2539
2. สุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชา วิทยาการระบาด และการควบคุมโรค หน่วยที่ 1-7.กรุงเทพมหานคร.ห้างหุ้นส่วนจำกัดหนึ่งเจ็ดการพิมพ์.2526
3. ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร.ระบาดวิทยา.ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2538.
4. ไพจิตร ปวะบุตร. เอกสารการสอน เรื่อง หลักการป้องกันและควบคุมโรค.ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2544
1 ความคิดเห็น:
สวัสดีครับคุณสามารถเเละเเฟนคลับที่ สตม ทุกท่าน
ก่อนอื่นต้องขอให้กำลังใจกับการทำบล็อก
นี่คงจะเป็นอีกหนึ่งชุมชนนักปฏิบัติใช่ไหม(ใช้ศัพท์ KM ซะด้วย)
เอกสารเรื่อง"หลักการป้องกันและควบคุมโรค" ฉบับนี้
เป็นสิ่งที่สรุปได้ดีมาก
ผมเคยอ่านงานนี้ โดยโหลดจากเว็บคณะเเพทย์ มน เมื่อนานมาเเล้ว
เอกสารยังมีอยู่เลย
ขอเเนะนำให้พี่ๆน้องๆทุกท่าน ช่วยกันเข้ามาอ่าน
ของเขาดีจริงๆ ครับ
ผมรับรอง
เป็นกำลังให้ครับ,
หมอโรจน์ สคร.8
แสดงความคิดเห็น